หลักสูตรโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle Coach)
Read MoreLess
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases, NCDs) เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพและการมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่ทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดทั้งในระดับโลกและประเทศไทย โดยทั่วโลกตั้งเป้าหมายการลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลง 1 ใน 3 ของอัตราเสียชีวิตในปัจจุบันภายในค.ศ. 2030 หลายประเทศทั่วโลกได้พัฒนาแนวทางการต่อสู้กับปัญหาดังกล่าวด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) ซึ่งเป็นเวชปฏิบัติที่ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ประกอบด้วย ‘6 เสาหลัก’ ได้แก่ อาหาร/โภชนาการ กิจกรรมทางกาย การเลิกบุหรี่ การลดอันตรายจากการใช้แอลกอฮอล์ การนอนหลับและความเครียด และการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม โดยมุ่งเน้นการป้องกันโรคทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ รวมถึงการทำให้สภาวะโรคกลับสู่ปกติ
สำหรับประเทศไทย แพทยสภาได้อนุมัติให้มีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์วิถีชีวิต เริ่มปีพ.ศ. 2566 โดยความร่วมมือระหว่างกรมอนามัยและสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย และได้พัฒนาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต (นบส.วช.) ขึ้นโดยปรับปรุงจากหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์วิถีชีวิต ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสสส.ในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2562 เป็นต้นมา เพื่อพัฒนาศักยภาพของแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการให้บริการสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรค NCDs ให้มีความรู้และทักษะสำคัญในการบริหารจัดการและพัฒนาบริการสุขภาพแนวใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวด้วยหลักการของเวชศาสตร์วิถีชีวิตโดยเน้นการเสริมพลังอำนาจให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและดูแลตนเอง โดยมีแพทย์และบุคลากรสุขภาพเป็นผู้ให้การสนับสนุนนอกเหนือจากการได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน รวมถึงการสร้างทีมบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมของผู้ป่วยมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยในการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ให้บริการสุขภาพที่ไม่ใช่แพทย์ในสาขาวิชาชีพต่างๆที่มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการให้บริการสุขภาพด้วยหลักการของเวชศาสตร์วิถีชีวิตในลักษณะของการโค้ชเพื่อมาทำงานร่วมกันกับแพทย์และผู้ป่วยเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีของผู้ป่วยและความสามารถในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยในปี พ.ศ. 2566 สสส.ได้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาหลักสูตรเวชศาสตร์วิถีชีวิตสำหรับผู้ให้บริการสุขภาพที่ไม่ใช่แพทย์ (Lifestyle Medicine for Non-MD: LMN) ให้แก่มูลนิธิศาสตราจารย์นายแพทย์สมบูรณ์วัชโรทัย โดยมีรศ.ดร.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งสมาคมฯได้เล็งเห็นประโยชน์ของโครงการฯ จึงได้นำผลงานของโครงการฯมาพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติมหัวข้อและรายละเอียดต่างๆรวมถึงกระบวนการจัดอบรมให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ความเข้าใจและทักษะการเป็นโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการให้บริการสุขภาพเวชศาสตร์วิถีชีวิต ภายใต้แนวคิดเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์วิถีชีวิต
1.2.2 เพื่อสร้างเครือข่ายโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้ให้บริการสุขภาพที่ไม่ใช่แพทย์
1.2.3 เพื่อสนับสนุนนโยบายของกรมอนามัยและกระทรวงสาธารณสุขด้านการส่งเสริมป้องกันโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้หลักการของเวชศาสตร์วิถีชีวิตและการโค้ช
โครงสร้างหลักสูตร
แบ่งเป็น 4 Modules ประกอบด้วย
- Module ที่ 1 Basic Preventive Medicine for Lifestyle Coaches
- เวชศาสตร์ป้องกันขั้นพื้นฐานสำหรับโค้ชวิถีชีวิต
- Module ที่ 2 Lifestyle Medicine Sciences
- เวชศาสตร์วิถีชีวิต: หลักการและการประยุกต์ใช้สำหรับโค้ชวิถีชีวิต
- โภชนศาสตร์สมัยใหม่สำหรับโค้ชวิถีชีวิต
- เวชศาสตร์การออกกำลังกายสำหรับโค้ชวิถีชีวิต
- การจัดการความเครียดและการส่งเสริมสุขภาพจิต
- การโค้ชเพื่อการลดละเลิกการสูบบุหรี่
- การจัดการการดื่มอัลกอฮอล์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
- เวชศาสตร์การนอนหลับสำหรับโค้ชวิถีชีวิต
- Module ที่ 3 Behavioral Change Theories and Techniques for Lifestyle Coaches
- จิตวิทยาสติเพื่อการเป็น Lifestyle Coaches
- การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ
- เทคนิคการให้คำปรึกษาโดยใช้แนวทางการสร้างเสริมความเข้มแข็ง
- บทบาท ทักษะ และเส้นทางสู่การเป็นโค้ชวิถีชีวิตแบบมืออาชีพ
- ทักษะการสื่อสารแบบโค้ช
- Module ที่ 4 Contemporary Issues in Lifestyle Medicine for Lifestyle Coaches
- การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเอง
- การจัดการสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ
- การท่องเที่ยวทางการแพทย์และเวลเนส
- กฎหมายและกฎระเบียบสำหรับคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิตและเวลเนส
- เวลเนสในสถานประกอบการ (Wellness Workplace)
- การโค้ชเพื่อพัฒนาสุขภาวะสมองและระบบประสาท
- เวชศาสตร์อายุยืนสำหรับโค้ชวิถีชีวิต
- การโค้ชเพื่อการมีสุขภาวะทางเพศ
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีการแพทย์เพื่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
- Module ที่ 5 Applications for Lifestyle Coaches
- การฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือการโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
- รายงานการดูแลสุขภาพของตนเอง
- รายงานการปฏิบัติการจิตวิทยาสติแนวใหม่
- รายงานการบริการการโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
- รายงานกลุ่มการพัฒนาบริการเวชศาสตร์วิถีชีวิต
- การศึกษาดูงานและรายงานกลุ่ม
- กิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม
ลักษณะของหลักสูตรและระยะเวลาการศึกษา
รูปแบบการเรียนการสอน : Onsite
ระยะเวลาการฝึกอบรม
- การฝึกอบรมจัดครั้งละ 3 วัน จำนวน 3 ครั้ง ระยะเวลา 2-3 เดือน
- รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
(1) บรรยายสรุป
(2) อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์
(3) กรณีศึกษาและการฝึกปฏิบัติการโค้ชเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยใช้หลักการเวชศาสตร์วิถีชีวิต โดยใช้สถานการณ์จำลอง
(4) การศึกษาดูงานสถานบริการสุขภาพด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต และรายงานกลุ่ม
(4) แบ่งกลุ่มย่อยทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน (Problem-based learning)
(5) มอบหมายงานเดี่ยว
(6) กิจกรรมสร้างสัมพันธภาพที่ดีในสังคม
(7) สอบรวบยอด
การวัดและการประเมินผลการฝึกอบรม รวม 100%
งานเดี่ยว 30 %
ประกอบด้วย รายงานการดูแลสุขภาพตนเอง รายงานการบริการการโค้ช และรายงานการฝึกสมาธิและสติ
งานกลุ่ม 20 %
ประกอบด้วย รายงานการศึกษาดูงาน และรายงานการพัฒนาบริการเวชศาสตร์วิถีชีวิต
การศึกษาดูงาน 5 %
การสอบรวบยอด 40 %
ประกอบด้วย การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์
การมีส่วนร่วมในหลักสูตร 5 %
รวมทั้งสิ้น 100%
เกณฑ์การรับประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการฝึกอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่จะมีคุณสมบัติในการรับประกาศนียบัตรหลักสูตรโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle Coach) จะต้องผ่านเกณฑ์ดังนี้
- มีเวลาในการเข้าร่วมการอบรมไม่น้อยกว่า 80% และเข้าร่วมในการศึกษาดูงาน ร่วมจัดทำรายงาน และร่วมนำเสนอรายงานกลุ่ม
- ได้คะแนนรวมในทุกรายการเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่า 70%
- ส่งผลงานที่ได้รับมอบหมายครบถ้วนและตรงต่อเวลา
คณะกรรมการดำเนินการหลักสูตรฯ
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย
ดร.พวงเพ็ญ ชั้นประเสริฐ
กรรมการ
นพ.เกษม เวชสุทธานนท์
กรรมการ
รศ.ดร.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์
กรรมการ
นายวศิน วิริยะอุตสาหกุล
เลขานุการ
นางสาวรัศมิ์รวี หล่อเพชร
ผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้อำนวยการหลักสูตร และทีมงานจัดการหลักสูตร
รศ.ดร.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์
ผู้อำนวยการหลักสูตร
นพ.เกษม เวชสุทธานนท์
รองผู้อำนวยการหลักสูตร
ดร.พวงเพ็ญ ชั้นประเสริฐ
คณะทำงาน
ผศ.ดร.สุภาภรณ์ สงค์ประชา
คณะทำงาน
พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์
คณะทำงาน
นายวศิน วิริยะอุตสาหกุล
ผู้ประสานงาน
นางสาวรัศมิ์รวี หล่อเพชร
ผู้ประสานงาน
นางสาวณัฐฑิตนีย์ ดีพร้อม
ผู้ประสานงาน
นางสาวกุลนันท์ หันทยุง
ผู้ประสานงาน
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช
รศ.ดร.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์
นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์
พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์
นพ.เกษม เวชสุทธานนท์
ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม
นพ.เทอดศักดิ์ เดชคง
นพ.จุฑาพจน์ ภูมิทรัพย์
นพ.วีระพันธ์ สุวรรณนามัย
พญ.กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล
กำหนดการหลักสูตรโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต รุ่นที่ 2
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือที่เกี่ยวข้อง และ/หรือ มีประสบการณ์ทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค หรือการบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเวลเนส การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างน้อย 1 ปี หรือตามที่คณะกรรมการพัฒนาและดำเนินการหลักสูตรโค้ชเพื่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเห็นว่าเหมาะสม
เอกสารประกอบการสมัคร
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ (ถ้ามี)
- สำเนาใบปริญญาตรี
แบบฟอร์มการสมัคร
ปิดรับสมัครแล้ว
รุ่นที่ 1
ผู้สำเร็จการอบรมทั้งสิ้น 63 ท่าน
- นาง กนกวรรณ ปรีดาภรณ์ภากร
- นางสาว กรรณิการ์ ดาบแก้ว
- นางสาว กัญชลาภรณ์ ศรีบุรมย์
- นาย กำพล เศรษฐสุข
- นางสาว กำไลทิพย์ สิงห์นารายณ์
- นาง กุสุมา กิ่งเล็ก
- นาง ขวัญใจ สร้างแก้ว
- นางสาว จุรีพร สงวนนาม
- นางสาว จุไรรัตน์ วงษ์คาร
- นางสาว ชนิสา เฮงรวมญาติ
- นางสาว ชลธิดา เณรบำรุง
- นาย ชาติกร บุญไกร
- นางสาว ชินณิชา สุพรม
- นางสาว ฐานิตา บุญเชิด
- นางสาว ฐิติมาพร นวลสิงห์
- นางสาว ฑิตยา อุดมสรรพ์
- นางสาว ณัฐสุดา อ่อนภูเขา
- นางสาว ณิชชาพัชญ์ รพีพัทธ์ธาริน
- นางสาว ตรีรัตษ์ชญากร แก้วปัญญา
- นาย ทินพล หวังเจริญสุข
- นางสาว ธนชาพร เตชะสร้อยวริจฐ์
- นาย ธนปติ ผาคำ
- นาง ธนอมร รักกมล
- นาย ธีรเมศร์ ปิติสิริพันธุ์
- นางสาว นวพร จิตการุญ
- นาง บุญญาภา จันทร์หอม
- นาย บุญเรือง มานิตย์โชติพิสิฐ
- นางสาว เบญจมาศ จำปานคร
- นางสาว ปานเลขา หมู่สูงเนิน
- นางสาว ปิยาภรณ์ สวรรยาวิสุทธิ์
- นางสาว พชิราวัลย์ อ่อนละมุล
- นางสาว พรวรา เติบจันทึก
- นาง พสชนัน จิตรแก้ว
- นาย พันธพงศ์ ตั้งธีระสุนันท์
- นางสาว แพรรวี ศรีสุรินทร์
- นางสาว แพรวพลอย พูลมี
- นางสาว มณีภา ศรีวาลัย
- นาย มลฑล มานิตย์
- นางสาว รัตน์ดา สิงห์เหม
- นางสาว ลลดา สีบัวฮาม
- นาง ลำพูล จันทร์สีนวล
- นางสาว วนิดา วิชิต
- นางสาว วลัยพร รุ่งเรือง
- นางสาว วษิมน วงษ์เซ็ง
- นาง วัชรินทร์ หอมอ้ม
- นาง วิจิตตรา จันทะดวง
- นาย วีระยุทธ สุมาลี
- นาย ศรัณรักษ์ ประสานพรรณ์
- นาง ศรินทร สนธิศิริกฤตย์
- นาย ส่งศักดิ์ ดูการณ์
- นาย สมิทธ์ อุดมมะนะ
- นาง สันธนา เสียงอ่อน
- นางสาว สุกัญญา จันทะรี
- นาย สุนทร สุจริตฉันท์
- นางสาว สุภารัตน์ คลื่นแก้ว
- นางสาว สุรัติ นิรันต์สิทธิรัชต์
- นางสาว สุรีพร สกุณี
- นางสาว เสาวรส บุญจันทร์
- นางสาว เสาวลักษณ์ พูดเพราะ
- นาย อนุจิตร จันทะมิตร
- นางสาว อภิรัญญา โคตรชมภู
- นางสาว อรรัตน์ ชาญศิริวงศ์
- นางสาว อัญมณี สรศิริ
รุ่นที่ 2
ยังไม่มีข้อมูล
-
ศูนย์ประสานงานจัดอบรมเวชศาสตร์วิถีชีวิต สำนักงานสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย
อาคาร 6 ชั้น 5 88/22 หมู่.4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000 - โทรศัพท์/โทรสาร 02-590-4971
- E-mail address: kalmcenter2024@gmail.com